วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คาวมปลอดภัยในชีวิต

article                คาวมปลอดในชีวิต                                                                  
            
                        ในการปฏิบัติงานในโรงงานสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอ  คือ ความปลอดภัย  โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งมีความเสี่ยงสูงใน
ที่จะได้รับอันตรายในการทำงาน  หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอก็จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบ  และเครื่องจักรในการผลิต  อุบัติเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์  และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง
                                    นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ก่อให้เกิดอันตรายได้  เช่น  การวางผังโรงงาน  อากาศ  แสงสว่าง  เสียง  สิ่งเหล่านี้หากมี
ความบกพร่องและผิดมาตรฐานที่กำหนดไว้
                                    ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นความพอใจอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายควรมีแก่กัน  ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการทำงาน  เราควรฝึก
เสียตั้งแต่เริ่มแรก  เมื่อมีความรู้และความเข้าใจแล้วนั่นหมายความว่าตลอดชีวิตของการทำงานจะไม่ประสบอันตราย

                                    ความปลอดภัยในการทำงาน
  คือ  สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดแก่ร่างกาย  ชีวิต  หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน  ซึ่ง
ก็คือสภาพการทำงานให้ถูกต้องโดยปราศจาก  "อุบัติเหตุ"  ในการทำงาน

                                    อุบัติเหตุ 
 คือ  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย  และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว  จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน  ทำให้ทรัพย์สิน
เสียหาย  หรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ


                                                                                     

                                    1. อุบัติเหตุกับการทำงาน

                                                                           

                                                                                                รูปที่ 1  อุบัติเหตุกับงานมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
                               
       
                                     อุบัติเหตุและการทำงานมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันเสมอ  กล่าวคือ  ในขณะที่เราทำงานนั้นจะมีอุบัติเหตุแอบแฝงอยู่ และเมื่อใด
ที่เราประมาท  อุบัติเหตุก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นทันทีซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุนั้นมักจะมีตัวการที่สำคัญอยู่  3  ประการ  คือ

                                            1.1 ตัวบุคคล  คือ  ผู้ประกอบการงานในหน้าที่ต่าง ๆ และเป็นตัวสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
                                            1.2 สิ่งแวดล้อม  คือ  ตัวองค์การหรือโรงงานที่บุคคลนั้นทำงานอยู่
                                            1.3 เครื่องมือ  เครื่องจักร  คือ  อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน

                                                                                                              
                       

                                      
 2. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

                                           2.1 สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย  อันได้แก่  การใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร  หรืออุปกรณ์ในการทำงานที่เสื่อมคุณภาพ  พื้นที่
ี่ทำงานสกปรกหรือเต็มไปด้วยของที่รกรุงรัง  ส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักรไม่มีที่กำบังหรือป้องกันอันตราย  การจัดเก็บสิ่งของไม่เป็นระเบียบ  เป็นต้น

                                                                                  

                                                              รูปที่ 2  การระบายอากาศไม่เพียงพอ                                       รูปที่ 3  พื้นลื่น  หรือสถานที่ทำงานสกปรก

                                           2.2 การกระทำที่ไม่ปลอดภัย 
เป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ  คิดเป็น 85%  ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด  การกระทำที่ไม่
ปลอดภัย 
 อันได้แก่
                                                 - สาเหตุที่คนกระทำการอันไม่ปลอดภัย  เพราะ
                                                   
1. ไม่มีความรู้เพียงพอ  จึงทำงานแบบลองผิดลองถูก
                                                   2. ขาดการฝึกอบรมหรือชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้องในการทำงาน
                                                   3. มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรักษาความปลอดภัย  (ประเภทพูดเท่าไหร่ไม่เชื่อ  บอกเท่าไร  ไม่ฟัง)

                                                 
- คนเรากระทำการอันไม่ปลอดภัยได้  เพราะ
                                                   
1. ไม่ทราบแน่ชัด
                                                   2. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
                                                   3. ประมาท  เลินเล่อ
                                                   4. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
                                                   5. อารมณ์ไม่ปกติ  เช่น  กำลังโกรธเพื่อนร่วมงาน
                                                   6. รีบร้อนเพราะงานต้องการความรวดเร็ว
                                                                                      
                                                            รูปที่ 4  การเก็บเครื่องมือที่ไม่เป็นระเบียบ                                        รูปที่ 5  ขาดความระมัดระวัง  เหม่อลอย
                                                                                                                                        

                                               การเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ  ต้องยึดหลัก 3E ได้แก่ 
                                               1. Engineering  (วิศวกรรมศาสตร์)
                                               2. Education  (การศึกษา)
                                               3. Enforcement  (การออกกฎบังคับ)


                                               E  ตัวแรก  คือ  Engineering  (วิศวกรรมศาสตร์)  
คือ  การใช้ความรู้ทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ในการคำนวณฯ  และ
ออกแบบเครื่องมือที่มีสภาพการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด       การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนที่เคลื่อนไหวหรืออันตรายของเครื่องจักร  การวางผัง
โรงงาน  ระบบไฟฟ้า  แสงสว่าง  เสียง  การระบายอากาศ  เป็นต้น
                                               
E  ตัวที่สอง  คือ  Education  (การศึกษา)  คือ  การให้การศึกษา  หรือการฝึกอบรมและแนะนำคนงาน  หัวหน้างาน  ตลอด
จนผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุและการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน ให้รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้น
และป้องกันได้อย่างไร  และจะทำงานวิธีใดจึงจะปลอดภัยที่สุด  เป็นต้น
                                               
E  ตัวสุดท้าย  คือ  Enforcement  (การออกกฎข้อบังคับ)  คือ  การกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยและมาตรการควบคุม
ให้คนงานปฏิบัติตาม  เป็นระบบระเบียบปฏิบัติที่ต้องประกาศให้ทราบทั่วกัน  หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ  เพื่อให้เกิดความสำนึก
และหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นอันตราย
                                               
ในการป้องกันอุบัติเหตุ  ควรเน้นทั้ง  3E  พร้อม ๆ กัน  โดยเฉพาะตัวที่ 2  Education  เพราะจะทำให้พนักงานรู้วิธีการทำงาน
ที่ปลอดภัย  การป้องกันอุบัติเหตุมีขั้นตอน  และระดับการปฏิบัติการหลายระดับ  ดังนี้
                                               1. การจัดวางผังโรงงานให้ปลอดภัย
                                               2. การจัดระบบและกระบวนการทำงานที่ปลอดภัย
                                               3. การทำให้เครื่องจักรกลมีความปลอดภัย
                                               4. การออกแบบลักษณะการทำงานที่ปลอดภัย
                                               5. การอบรมวิธีการทำงานที่ปลอดภัยแก่คนงาน
                                               6. การปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ปลอดภัย  ฯลฯ
                                               จากทั้ง 6 ระดับพบว่า  ระดับที่ 1-5  อยู่นอกเหนือวิสัยคนธรรมดา  ไม่มีอำนาจ  สติ  ปัญญาทำได้  ระดับ 6 เท่านั้น ที่คนงานมี
สิทธิทำได้  เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองเป็นสำคัญ  และเป็นการลดความสูญเสียทุก ๆ รูปแบบ ได้อย่างดี                                                                                  

                                         4.  ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน                                               
                                               4.1 ความปลอดภัยเกี่ยวกับตัวผู้ปฏิบัติงาน                          
                                                       4.1.1  การแต่งกาย
                                                                
- เครื่องแบบที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  คือ  เสื้อและกางเกงที่เป็นชิ้นเดียวกัน  ซึ่งอยู่ใน
สภาพที่เรียบร้อย  เสื้อผ้าที่ฉีกขาดไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะทำให้เข้าไปติดกับเครื่องจักรที่กำลังหมุนได้
                                                                - ติดกระดุมทุกเม็ดให้เรียบร้อย
                                                               
- ไม่ควรใส่เครื่องประดับ  เช่น  สร้อยคอ  นาฬิกา  แหวน
                                                                - ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้น  หรือรองเท้าบู๊ด  เพื่อป้องกันเศษโลหะทิ่มตำ
                                                                - ควรสวมแว่นตา  เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา  เช่น  การเจียระไนงาน  หรือแสงจากการเชื่อมโลหะ
                                                                - ควรสวมหมวกในกรณีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเคมี
                                                                - ไม่ควรไว้ผมยาวหรือมิฉะนั้นควรสวมหมวก
                                                                - สภาพการทำงานที่มีเสียงดัง  ควรสวมที่ครอบหู


                                                                                                                                                                 


                                                                                                                                          รูปที่ 6  การแต่งกาย


                                                                                         

                                                                          รูปที่ 7  การแต่งกายของผู้ชาย                                                     รูปที่ 8  การแต่งกายของผู้หญิง

                                                      4.1.2  ความประพฤติตนโดยทั่วไป
                                                                
- การเดินไป-มาในโรงงานควรระมัดระวังอยู่เสมอ
                                                                - ไม่ทดลองใช้เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต
                                                                - ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันขณะปฏิบัติงานจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง
                                                                - ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในโรงงานโดยเคร่งครัด
                                                                                          
                                                  รูปที่ 9  การเดินไป-มาในโรงงาน  ควรระมัดระวังอยู่เสมอ               รูปที่ 10  ไม่ทดลองใช้เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต

                   
                                                                                         

                                                      รูปที่ 11  ไม่หยอกล้อกันหรือเล่นกันขณะปฏิบัติงาน            รูปที่ 12  ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานอย่างเคร่งครัด

                                            4.2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องมือ  เครื่องจักร                                  
                                                    
ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องมืออยู่หลายชนิดที่ต้องใช้ให้ถูกวิธี  และให้เหมาะสมกับงานเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่  ค้อน  ไขควง  คีม  ตะไบ  เลื่อย  อุปกรณ์ร่างแบบต่าง ๆ เช่น  เหล็กขีด  วงเวียน  ฯลฯ 
                                                    เครื่องจักรกลจัดเป็นเครื่องทุ่นแรง  สามารถช่วยให้ทำงานได้ตามความต้องการ  ประหยัดเวลา  แรงงานและทำงานได้มากมาย
หลายอย่างในขณะเดียวกันถ้าไม่รู้จักใช้  อันตรายจากเครื่องจักรก็มีมากพอ ๆ กับประโยชน์  ของเครื่องจักรนั่นเอง   และในการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร  สิ่งที่
ควรพึงระมัดระวังในการปฏิบัติงานควรปฏิบัติดังเรื่องต่อไปนี้

                                                   
  - การถือเครื่องมือที่มีคมควรให้ปลายชี้ลงด้านล่าง  หรือหาของหุ้มปิดเสีย  เช่น  วงเวียน  เหล็กขีด  อย่าเก็บหรือพกไว้ใน
กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง
                                                     - ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด  เช่น  ค้อนที่บิ่นหรือแตกเพราะจำทำให้เกิดความผิดพลาดขณะทุบหรือตีชิ้นงานได้
                                                     - การทำงานบนที่สูงต้องผูกมัดหรือเก็บเครื่องมือให้ปลอดภัย  เพื่อป้องกันไม่ให้หล่นลงมาโดนคนที่อยู่ข้างล่างได้
                                                     - เมื่อจะเดินเครื่องจักร  ผู้ใช้ต้องรู้เสียก่อนว่าจะหยุดเครื่องอย่างไร
                                                     - การเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องจักรหรือเปลี่ยนสายพาน  เฟือง  จะต้องหยุดเครื่องและตัดสวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง
                                                     - อย่าพยายามหยุดเครื่องด้วยมือหรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
                                                     - พึงระวังส่วนประกอบของเครื่องจักรที่อาจจะเป็นอันตรายได้  เช่น  เฟือง  สายพาน  มีดกัดต่าง ๆ  จะต้องมีฝาครอบ
หรือเครื่องป้องกันเอาไว้
                                                     - ต้องตรวจดูชิ้นงานหรือใบมีดกัดต่าง ๆ จะต้องยึดแน่นและถูกต้องก่อนทำงานเสมอ
                                                     - เมื่อปฏิบัติงานเสร็จแล้วต้องตัดสวิตช์ไฟฟ้าออกทุกครั้ง

                                                                                          

                                                                        รูปที่ 13  ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด                         รูปที่ 14  การทำงานบนที่สูงต้องผูกมัดหรือเก็บเครื่องมือ
                                                                                                                                                                      ให้ปลอดภัย


                                                                                          

                                                        รูปที่ 15  การเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องจักร  หรือ                    รูปที่ 16  อย่าหยุดเครื่องด้วยมือหรือร่างกายส่วน
                                                                    
  เปลี่ยนสายพานเฟืองจะต้องหยุดเครื่องและ                                    ใดส่วนหนึ่ง
                                                                       สวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง


                                                                                                                     

                                                                                                 รูปที่ 17  ก่อนใช้เครื่องจักรต้องแน่ใจว่ามีเครื่องป้องกันอันตรายอยู่

                                         4.3 ความปลอดภัยเกี่ยวกับการยก  และถือของ                       
                                      
- การยกของหนักอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้  ควรช่วยกันหรือใช้เครื่องมือยก  และเมื่อยกของหนัก ๆ จากพื้น อย่าใช้
หลังยก  ให้ใช้กล้ามที่ขายกแทน
                                                   - การยกของควรใช้กำลังกล้ามเนื้อที่ต้นขายก  โดยยืนในท่าที่จะรับน้ำหนักได้สมดุลย์  คือ  งอเข่า  หลังตรง  ก้มหน้า  จับของ
ให้แน่นแล้วยืดขาขึ้น
                                                   - พยายามหลีกเลี่ยงการยกของมีคม
                                                   - เมื่อยกขึ้นแล้วก่อนจะเดินจะต้องมองเห็นข้างหน้าและข้าง ๆ รอบตัว

                                 
                                                                                                                 

                                                                                                              รูปที่ 18  ขั้นตอนการยกและวางของที่ถูกวิธี
                                4.4 ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า                                 

                                      4.4.1 ข้อควรระวังในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป
                                                            
- เมื่อพบว่าฝาครอบ หรือกล่องสวิตช์ชำรุด หรือตกเสียหาย และควรรีบเปลี่ยนและซ่อมแซมทันที
                                                            - รักษาความสะอาดของพื้นบริเวณที่ซึ่งสวิตช์อยู่ใกล้ ๆ
                                                            - หมั่นสำรวจตรวจตราภายในแผงสวิตช์  ตู้ควบคุมทางไฟฟ้า  ไม่ให้มีเศษผงทองแดงหรือโลหะที่นำไฟฟ้าอยู่และอย่านำ
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุม  เช่น  ฟิวส์  ออกจากตู้ควบคุม
                                                            - การเปลี่ยนฟิวส์  ควรใช้ฟิวส์เฉพาะงานนั้น ๆ และก่อนเปลี่ยนต้องสับสวิตช์  (ให้วงจรไฟฟ้าเปิดให้เรียบร้อยก่อน)
                                                            - อย่าใช้ฝาครอบที่ทำด้วยสารที่สามารถลุกติดไฟได้  เปิดฝาครอบสวิตช์
                                                            -
สวิตช์แต่ละอัน  ควรมีป้ายแสดงรายละเอียดดังนี้
                                                                           * ใช้กับกระแสไฟตรง  หรือกระแสสลับ
                                                                           * ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า  (หรือแรงดัน/แรงเคลื่อนไฟฟ้า)
                                                                           * กระแสไฟฟ้า
                                                                           * เครื่องมือเครื่องใช้ทางไฟฟ้าที่ต่อกับสวิตช์นั้น
                                                                           * ชื่อผู้รับ
                                                             - ต้องสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด  เมื่อต้องการตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องจักรแล้วให้ทำสัญลักษณ์หรือป้ายที่สวิตช์
ว่า  "กำลังซ่อม"
                                                             - ก่อนสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าปิด  ต้องแน่ใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยและได้รับสัญญาณถูกต้อง  และก่อนเปิดทดลองเดิน
เครื่องควรตรวจดูว่าเครื่องจักรนั้นไม่มีวัตถุอื่นใดติดหรือขัดอยู่
                                                             - การส่งสัญญาณเกี่ยวกับเปิด-ปิดสวิตช์  ควรทำด้วยความระมัดระวัง
                                                             - อย่าปิด-เปิดสวิตช์ขณะมือเปียกน้ำ
                                                             - การสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าปิดต้องแน่ใจว่าสัญญาณนั้นถูกต้อง
                                                             - การขันสลักเกลียวเพื่อยึดสายไฟฟ้า  ต้องขันให้แน่น
                                                             - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดอย่าฝืนใช้งานจะเกิดอันตรายได้
                                  
                                                                                                         
                                                                                                           รูปที่ 19  แสดงการชำรุดของเครื่องใช้ไฟฟ้า

                                                   4.4.2 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้สวิตช์ตัดตอน
                                                            
- ที่ใช้งานกับส่วนที่อาจเกิดอันตรายสูง  ผู้รับผิดชอบต้องหมั่นตรวจดูและทำป้ายบอก
                                                            - ในกรณีมีการตรวจซ่อมแซมเครื่องจักร  ต้องทำป้ายหรือสัญลักษณ์ติดแขวนไว้ที่สวิตช์ว่า  "อยู่ระหว่างการซ่อมแซม"
หรือ  "กำลังซ่อม"  เมื่อเสร็จจึงนำป้ายออก
                                                            - การใช้สวิตช์ควบคุมเครื่องจักรที่ใช้ร่วมกันหลาย ๆ คน ควรมีหลักเกณฑ์หรือสัญญาณในการปฏิบัติเป็นมาตรฐาน
เดียวกัน
                                                            - การทำงานร่วมกันระหว่างคนงาน 2 กลุ่ม  กลุ่มที่ใช้เครื่องจักรร่วมกัน  จะต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะกรณีถ้า
เกิดมีการตรวจซ่อม  ต้องมีการติดต่อประสานงานกับช่างเป็นอย่างดี  ก่อนที่จะมีการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า
                                                   4.4.3 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า
                                                            
- ตรวจสอบสายไฟฟ้า  ถ้าพบว่าชำรุดให้เทปพันเป็นฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย  และตรวจจุดต่อสายไฟให้เรียบร้อยด้วย
                                                            - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เคลื่อนย้ายได้  ควรตรวจสอบบริเวณข้อต่อ  ขั้วที่ติดอุปกรณ์  สายไฟฟ้าอย่างระมัดระวังถ้าพบว่าชำรุด
รีบเปลี่ยนให้อยู่สภาพดี
                                                            - หมั่นตรวจสอบเครื่องมือไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้ายได้  ต้องมีฝาครอบป้องกันหลอดไฟฟ้า
                                                            -
การเปลี่ยนหรือซ่อมแซมเครื่องมือ  หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า  ถึงเป็นกรณีเล็กน้อย  ควรให้ช่างไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินการ
                                                            - อย่า ! สับสายไฟฟ้าขณะที่มีกระแสไหลอยู่
                                                            - อย่าแขวนหรือห้อยสายไฟ  บนของมีคม  เช่น  ใบมีด  ใบเลื่อย  ใบพัด
                                                            - การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด  เช่น  มอเตอร์  หม้อแปลง  ควรมีผู้รับผิดชอบในการควบคุมในการ ปิด-เปิด 
                                                            - ในส่วนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายควรมีเครื่องหมายแสดงไว้เช่น  ป้ายไฟสัญญาณธงแดง  เทปแดง  เป็นต้น
                                                            - ถ้าเกิดสภาพผิดปกติกับอุปกรณ์ไฟฟ้าควรสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิดแล้วแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ
                                                            - ห้ามปลดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายไฟฟ้าออก  ยกเว้นกรณีที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
                                                            - เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรสับสวิตช์และต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าเปิด
                                                            - อย่าห่อหุ้มดวงไฟด้วยกระดาษหรือผ้า
                                                            - อย่านำสารไวไฟหรือวัสดุที่ติดไฟง่ายเข้าใกล้  สวิตช์ , ปลั๊ก
                                                            - อย่าใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขณะมือเปียกน้ำ
                                                            - เมื่อมีผู้ได้รับอุบัติเหตุทางไฟฟ้าต้องรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด
                                                  
4.4.4 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
                                                            
- การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องมีการควบคุมดูแลโดยช่างหรือผู้ชำนาญทางไฟฟ้า  นอกจากงานที่มีความศักย์ต่ำกว่า
50 โวลต์  ซึ่งต่อลงดินเรียบร้อยแล้ว
                                                           - การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าจะทำได้ต้องผ่านการปรึกษาหารือจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ  การสื่อสารเกี่ยวกับการป้องกัน
เมื่อมีการทำงานขณะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือกรณีมีการขัดจังหวะ
                                                           - ควรหลีกเลี่ยงการทำงานขณะมีกระแสไฟไหลอยู่  ยกเว้นกรณีจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
                                                           - การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า  นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานทางไฟฟ้าแล้ว  ควรจะต้องปฏิบัติเพิ่มดังนี้
                                                                         * ห้ามเปิดชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เมื่อเปิดแล้วจะมีกระแสไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าไหลควรใช้ฝาครอบ
หรือมีฉนวนกั้น  หรือถ้าไม่สามารถเปิดคลุมได้ก็ให้จัดทำป้ายอันตราย  ติดแขวนไว้
                                                                         *
อุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในที่สูง  จะต้องมีฉนวนหุ้มอย่างดีและต้องตรวจสอบความเรียบร้อยอยู่เสมอ
                                                                         * หมั่นตรวจตราฉนวนหุ้มอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เสมอในบริเวณที่ซึ่งอาจมีการสัมผัสหรือทำงาน
                                                                         * เมื่อมีการเดินสายไฟฟ้าบนถนน  (แม้ว่าจะเดินชั่วคราวก็ตาม)  ควรมีระบบป้องกันอันตรายซึ่งใช้เฉพาะงาน
                                                           - กรณีการทำงานเดี่ยวกับไฟฟ้าที่อาจมีการขัดจังหวะงานได้  ควรเพิ่มความระวังดังนี้
                                                                         * เครื่องจักรบางชนิดเมื่อเดินเครื่องแล้วไม่สามารถกดสวิตช์ให้กลับมาทำงานที่จุดเริ่มต้นได้ควรมีป้ายบอกไว้
ชัดเจน
                                                                         * เครื่องจักรทุกชนิดควรมีระบบสายดินที่ดี
                                                                         * เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ควรปรึกษาช่างไฟฟ้าหรือผู้เชี่ยวชาญทางไฟฟ้า
                                                                         * ก่อนสับสวิตช์ทำงาน  ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า  จะไม่เกิดอันตรายไฟฟ้าลัดวงจรมีระบบสายดินแหล่ง
จ่ายไฟเรียบร้อย
                                                    4.4.5 ข้อที่ไม่ควรกระทำในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
                                                             - ไม่ควรถอดปลั๊กไฟด้วยการดึงสายไฟ
                                                             - ไม่ควรใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด
                                                             - ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟที่ชำรุด
                                                             - ไม่ควรต่อพ่วงไฟเกินกำลัง
                                                             - ไม่ควรต่อปลั๊กผิดประเภท
                                                             - ไม่ควรซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองถ้าหากไม่มีความรู้อย่างแท้จริง

                                4.5 ความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่                                        
                                      
พื้นโรงฝึกงาน

                                                   - รักษาพื้นให้สะอาดปราศจากน้ำมัน  จาระบีหรือของเหลวต่าง ๆ ถ้ามีอะไรหกหรือราดลงบนพื้นให้เช็ดทันทีเพื่อป้องกัน
ไม่ให้คนอื่นมาเหยียบลื่นล้ม
                                                   - ทางเดินระหว่างเครื่องจักรไม่ควรให้มีสิ่งใดมาวางเกะกะ  จะทำให้ผู้ผ่านมาสะดุดเกิดอุบัติเหตุได้
                                                   - อย่าทิ้งเครื่องมือและงานไว้บนโต๊ะหรือเครื่องจักร  แม้ว่าเครื่องจักรนั้นจะไม่หมุน เพราะอาจตกลงไปทำอันตรายกับเท้าได้
                                                   - เก็บเครื่องมือให้เป็นระเบียบทุกครั้งหลังการใช้งาน
                                                   - นำเศษโลหะเก็บไว้ในที่เก็บ
                                                   - เก็บวัสดุหรือเศษวัสดุ  ให้พ้นจากการสะดุดหรือเหยียบหกล้ม

                                                                                                         
                       
                                                                                                         รูปที่ 20  
แสดงความไม่ปลอดภัยของสถานที่



                                                                                  

                                                    รูปที่ 21 พื้นโรงงานต้องสะอาดไม่มีเศษวัสดุตกอยู่                          รูปที่ 22 น้ำมันที่ติดอยู่กับพื้นควรเช็ดให้สะอาด
                                4.6 ความปลอดภัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน              
                                       
- แสงสว่าง
                                                    - ความดังของเสียง
                                                    - ระบบการถ่ายเทอากาศ
                                                    - น้ำดื่ม

                                                                                                                                            


                       
                                                                
รูปที่ 23  แสดงความไม่ปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
                                                                                                                                                                

                                 4.7 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเพลิงไหม้                                   

                                       - ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องรู้ว่าเครื่องดับเพลิงอยู่ที่ไหน  จะใช้อย่างไร  เมื่อใด
                                                    - จะต้องรู้ว่าเรียกหน่วยดับเพลิงอย่างไร
                                                    - ควรซ้อมการดับเพลิงเป็นระยะสม่ำเสมอ

                                                                              
                                                                                         รูปที่ 24  แสดงความไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับการเกิดเพลิงไหม้

                               5.  การช่วยเหลือ  และการปฐมพยาบาล                                 
                                               5.1 กรณีหยุดหายใจ

                                                                           
                                         
1. ยกต้นคอขึ้นแล้วกดศีรษะให้หงายไปข้างหลังจากนั้นเอาสิ่งของที่อยู่ในปากของผู้ป่วยออกให้หมด

                                                                           
                                                                       
2. ง้างขากรรไกรออก  บีบจมูกและอ้าปากของผู้ป่วย

                                                                            
                                                               
3. ประกบปากลงบนปากของผู้ป่วย  แล้วค่อย ๆ เป่าลมจนเต็มปอด
                                                                       
* กระทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง

                                               5.2 กรณีประสบอันตรายจากไฟฟ้าดูด
                          
                                         
- ไม่ใช้มือเปล่าในการช่วยเหลือ
                                                       - รีบตัดกระแสไฟฟ้า  (สวิตช์/ปลั๊ก)
                                                       - ใช้ฉนวนเขี่ยสายไฟให้หลุดออกไป
                                                      - เมื่อไฟฟ้าดับ  ควรรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด
                                                       - ถ้าเกิดไฟฟ้าช็อต  หรือลัดวงจรทำให้เกิดไฟไหม้รีบสับสวิตช์  แล้วทำการดับไฟด้วยเครื่องดับเพลิงชนิดสารเคมี 
ไม่ควรใช้น้ำหรือเครื่องดับเพลิงที่เป็นน้ำทำการดับไฟ  เพราะอาจเกิดอันตรายได้ 
                                                       - กรณีประสบภัยในน้ำ  อย่าลงไปช่วยจนกว่าจะแน่ใจว่าตัดกระแสไฟฟ้าหมดแล้ว
                                                       - กรณีผู้ป่วยหมดสติ  ให้นวดหัวใจและผายปอดช่วยชีวิตโดยทันที

          
                                  5.3 การห้ามเลือด

                                        
                                
                                                                1. พับรอบแขนหรือขา  2  รอบ                                                                        2. ผูกเงื่อนแรก

                                                                                     
                                                     3. ใช้ท่อนไม้วางบนเงื่อนแล้วผูกเงื่อนซ้ำ 2 ครั้ง                             4. หมุนหรือขันชะเนาะจนกระทั่งเลือดหยุดไหล                                    
                                                                                    
                                                      5. ผูกตรึงปลายไม้ให้อยู่กับที่ด้วยเชือกเล็ก ๆ                                           6. บันทึกเวลาที่เริ่มขันชะเนาะไว้
                               6.  การรักษาความปลอดภัยและการป้องกัน                              
                                                การรักษาความปลอดภัยในการทำงาน  คือ  การควบคุมพนักงาน  เครื่องจักร  วัสดุ  ตลอดจนวิธีการทำงาน  เพื่อให้สภาพการ
ทำงานไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในทรัพย์สิน  หรือ  การบาดเจ็บต่อพนักงาน

                                               6.1 การสร้างความปลอดภัยของตัวบุคคล
             
                                       1. ให้ความรู้และฝึกอบรม
                                                     2. จัดคนให้ทำงานตามความถนัด

                                                     3. ให้การสนับสนุนด้านการรักษาความปลอดภัย
                                                     4. สร้างแรงจูงใจ
                                               6.2 วิธีปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
             
                                       1. การเตรียมการ
                                                     2. การปฏิบัติ
                                                     3. หลังการปฏิบัติ

                                               6.3 เครื่องป้องกันอันตรายเฉพาะอย่าง
             
                                       1. เครื่องป้องกันตา  มีอยู่หลายชนิด  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของงานต่าง ๆ คือ
                                                                - การเชื่อมโลหะ
                                                                - การตัดท่อกรด
                                                                - การเจาะ  การกลึงโลหะ  การเจียระไน
                                                     2. หมวก  ป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายจากงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องและใบพัด  ดังนั้นจึงควรจะสวมหมวกและเก็บผมไว้ใน
หมวกให้เรียบร้อยก่อนทำงาน
                                                     3. เครื่องปิดจมูกและปาก  เพื่อป้องกันสารพิษต่าง ๆ เข้าไปในร่างกายของท่าน  เพราะสารพิษต่าง ๆ นั้นเป็นสาเหตุหนึ่ง
ที่ทำให้ท่านต้องตายอย่างระบบผ่อนส่งได้
                                                     4. ถุงมือ  
ประโยชน์จากการใช้ถุงมือมีมากมายและที่เห็นได้ชัดก็คือ  เป็นสิ่งที่ป้องกันผิวหนังจากการขีดข่วนจากเปลวไฟ
ตลอดจนการป้องกันการถูกไฟฟ้าช๊อต


                                                                                                     
                                                                                                         รูปที่ 25  แสดงเครื่องป้องกันเฉพาะอย่าง
                               7.  สัญลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน                                               

                                 

                                                                                             

                                                                                

                                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น